top of page

Blockchain กำลังเปลี่ยนการเงินได้อย่างไร


Blockchain กำลังเปลี่ยนการเงินได้อย่างไร


ระบบเศรษฐกิจโลกของเราขับเคลื่อนเงินหลายล้านล้านดอลลาร์ในแต่ละวัน และให้บริการแก่คนหลายพันล้านคน แต่ระบบมันเต็มไปด้วยปัญหา มีการเพิ่มค่าธรรมเนียม และสร้างความล่าช้า เอกสารที่มากเกินความจำเป็นทำให้เกิดความฝืด อีกทั้งยังเปิดโอกาสให้กับการโกงและการอาชญากรรม ในขณะนี้ 45% ของการทำธุรกรรมทางการเงิน อย่างเช่น ระบบการชำระบริการ ตลาดหุ้น และการโอนเงิน ที่ได้ประสบกับปัญหาอาชญากรรมทางเศรษฐกิจอยู่เป็นประจำในทุกปี ดังนั้นมันจึงไม่น่าแปลกใจเลยที่ค่าใช้จ่ายในเรื่องกฎเกณฑ์จะสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และกลายเป็นปัญหาใหญ่สำหรับธนาคารทั้งหลาย ปัจจัยทั้งหมดนี้สร้างรายจ่ายและกลายเป็นผู้บริโภคเองที่ต้องแบกรับภาระทั้งหมด


ส่วนสาเหตุที่ทำให้ระบบเศรษฐกิจไม่มีประสิทธิภาพก็เพราะ อย่างแรกคือ มันล้าสมัยเกินไป ระบบในธนาคารส่วนใหญ่ยังคงใช้กระดาษอยู่ อย่างที่สองคือ มันถูกรวมอำนาจกับศูนย์กลางมากเกินไป ทำให้การธนาคารเกิดการต่อต้านการเปลี่ยนแปลง และยังคงเป็นจุดอ่อนที่ทำให้ระบบล้มเหลวและถูกโจมตีได้ง่าย อย่างที่สามคือ การที่คนบางกลุ่มเข้าไม่ถึงการบริการ มีคนหลายพันล้านคนที่ตอนนี้ไม่สามารถเข้าถึงระบบการเงินแบบทั่วไปได้ ในอดีต ธนาคารเหล่านี้ไม่ได้ให้ความสำคัญกับความคิดสร้างสรรค์ที่จำเป็นต่อความมั่นคงและความก้าวหน้าของเศรษฐกิจ แต่ข่าวดีคือ ปัญหาสำหรับนวัตกรรมทางการเงินนี้ได้ถือกำเนิดสิ่งที่เราเรียกว่า Blockchain


Blockchain ถูกพัฒนาเพื่อเป็นเทคโนโลยีที่ใช้สำหรับ cryptocurrency อย่างเช่น Bitcoin เป็นระบบที่กระจายการบันทึกการเงินผ่านอุปกรณ์หลายล้านเครื่อง มีความสามารถในการจัดเก็บค่าอะไรก็ได้ เช่น เงิน หุ้น หุ้นกู้ โฉนด เอกสารสิทธิ์ สัญญา และแทบจะสินทรัพย์อะไรก็ได้ ที่สามารถถูกเคลื่อนย้ายและจัดเก็บอย่างปลอดภัย เป็นส่วนตัว และส่งกันด้วยวิธี peer to peer เพราะความเชื่อมั่นเกิดจากระบบเครือข่าย มีการเข้ารหัส การร่วมมือกัน และการเขียนโค้ดที่ชาญฉลาด ไม่ได้เกิดจากตัวกลางขนาดใหญ่ เช่น ธนาคาร หรือรัฐบาล ถือเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่กลุ่มคนมากกว่า 2 กลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจ หรือคนทั่วไปที่อาจจะไม่ได้รู้จักกัน สามารถทำสัญญา สร้างธุรกรรม และสร้างคุณค่าโดยไม่อาศัยตัวกลาง (อย่างเช่น ธนาคาร บริษัทจัดเรทติง หน่วยงานรัฐบาล) ที่จะระบุตัวตน สร้างความเชื่อมั่น หรือกระทำการใดๆ ด้านธุรกิจ เช่น สัญญา clearing ชดใช้หนี้สิน งานจัดเก็บข้อมูลที่เป็นฐานสำหรับการพาณิชย์ทุกรูปแบบ


ด้วยความที่ถูกมองว่าเป็นเทคโนโลยีเปลี่ยนโลก บริษัทหลายเจ้าในอุตสาหกรรมการเงิน ตั้งแต่ธนาคาร ไปจนถึงบริษัทประกันที่ใช้ตรวจสอบ และบริษัทให้บริการด้าน professional service ได้มีการลงทุนในผลิตภัณฑ์ blockchain มากมาย เหตุผลที่บริษัทเหล่านี้ให้ความสนใจและตัดสินใจลงทุนก็เพราะ โอกาสที่จะลดความฝืดในระบบการเงิน และลดภาระค่าใช้จ่าย แต่ท้ายที่สุดแล้ว ตัวกลางด้านการเงินก็ต้องอาศัยตัวกลางที่ยาวเป็นแถว ซึ่งมีความซับซ้อนและค่าใช้จ่ายสูงมาก ธนาคาร Santander คาดว่าจะสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้ถึง 2 หมื่นดอลลาร์ด้วยระบบ blockchain บริษัทให้คำปรึกษาแห่งหนึ่งได้คาดการว่า ผู้บริโภคจะสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายด้านการธนาคารและประกันในแต่ละปีมากถึง 1.6 หมื่นล้านดอลลาร์ผ่านทางระบบที่ใช้ blockchain


Blockchain สามารถทำให้รายเดิมๆ อย่าง JPMorgan Chase Citigroup และ Credit Suisse ซึ่งทั้งหมดกำลังลงทุนในเทคโนโลยีนี้ สามารถใช้ทรัพยากรที่น้อยลง เร่งธุรกิจ และลดความเสี่ยงในการดำเนินการ แม้ว่ามุมมองที่เห็นโอกาสนี้ จะเป็นสิ่งที่มีประโยชน์และมักจะจำเป็น แต่มันอาจจะไม่เพียงพอ ท้ายที่สุดแล้ว เราจะสามารถลดค่าใช้จ่ายจากธุรกิจได้อย่างไรหากโครงสร้างธุรกิจนั้นเกิดการเปลี่ยนแปลงล่ะ blockchain คือสิ่งที่สามารถเปลี่ยนโลกได้ ด้วยการลดค่าใช้จ่ายสำหรับผู้เกี่ยวข้องทุกรายในเศรษฐกิจ blockchain ให้การรองรับการร่วมมือกันด้วยโมเดล peer-to-peer ที่สามารถทำให้โครงสร้างธุรกิจปัจจุบันหมดประโยชน์


ยกตัวอย่างเช่น ลองคิดว่าบริษัทใหม่ๆ จะสามารถเข้าถึงเงินทุนเพื่อขยายกิจการได้อย่างไร โดยปกติแล้ว บริษัทเหล่านี้จะเสาะหานักลงทุนที่เป็น angel investors ในช่วงเริ่มแรกของธุรกิจ และจะติดต่อกับ venture capitalists เพื่อก้าวสู่จุดสูงสุดคือการ IPO ในตลาดหลักทรัพย์ อุตสาหกรรมนี้รองรับตัวกลางมากมายอย่างเช่น วาณิชธนาคาร ตลาดหลักทรัพย์ ผู้ตรวจสอบบัญชี ทนายความ และแพลตฟอร์ม crowdfunding เทคโนโลยี blockchain ได้เปลี่ยนแปลงโลกโดยการทำให้บริษัทไม่ว่าจะขนาดใด สามารถระดมทุนด้วยวิธี peer-to-peer ได้ ผ่าน global distrubuted share offerings หรือการเสนอขายหุ้นสู่ทั่วทั้งโลก กลไกการระดมทุนวิธีใหม่นี้ได้เริ่มเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรม blockchain แล้ว ในปี 2016 บริษัทด้าน blockchain สามารถระดมทุน 400 ล้านเหรียญผ่านทางกลุ่มนายทุนในรูปแบบดั้งเดิม และอีก 200 ล้านเหรียญผ่านสิ่งที่เราเรียกว่า initial coin offerings (ICO แทนที่จะเป็น IPO) ในปีนี้ก็เริ่มมีการระดมทุนจำนวนมหาศาลผ่าน ICO และเราก็คาดการว่า startup ด้าน blockchain จะสามารถระดมทุนผ่านทาง ICO ได้มากกว่าวิธีอื่นๆ ทั้งหมด นี่เป็นจุดเปลี่ยนครั้งประวัติศาสตร์


เจ้าตลาดรายปัจจุบันก็เริ่มให้ความสนใจบ้างแล้ว กลุ่มนักลงทุน Union Square Ventures จาก New York ได้เริ่มขยายกลยุทธิ์การลงทุนให้สามารถซื้อ ICO ได้โดยตรง กลุ่มทุน Andreessen Horowitz จาก Menlo Park ก็ได้เข้าร่วมลงทุนกับ Polychain Capital ซึ่งเป็นกองทุน hedgefund ที่ลงทุนแค่ใน token เท่านั้น อีกหนึ่งกลุ่มนักลงทุนที่ใหญ่ที่สุดในอุตสาหกรรมได้แก่ Blockchain Capital เพิ่งประกาศว่าจะระดมทุนรอบใหม่โดยการออก token ด้วยวิธีการ ICO เป็นครั้งแรกในอุตสาหกรรมนี้ และบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Goldman Sachs ตลาดหุ้น NASDAQ นิตยสาร Inc. และ Intercontinental Exchange บริษัทโฮลดิงที่เป็นเจ้าของตลาดหุ้น New York Stock Exchange ซึ่งครองการ IPO และการขึ้นทะเบียนธุรกิจ ก็ได้กลายเป็นนักลงทุนที่ใหญ่ที่สุดในกิจการด้าน blockchain


ICO มีความเสี่ยง เหมือนโมเดลธุรกิจใหม่ทั่วไป เพราะแทบจะไม่มีการควบคุมเลย การตรวจสอบและการเปิดเผยข้อมูลมีจำกัด และหลายบริษัทที่ได้ออก ICO ก็เจ๊งไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว แต่หากทำอย่างถูกต้อง ICO จะไม่ได้เพียงแค่พัฒนาประสิทธิภาพในการระดมทุน ลดต้นทุนสำหรับนักธุรกิจและนักลงทุน แต่ยังสามารถสร้างสิทธิให้ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในตลาดทุนของโลก


ถ้าหากโลกแห่ง venture capital สามารถเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็วขนาดนี้ในหนึ่งปี มีอะไรอีกไหมที่เราสามารถเปลี่ยนแปลงได้? blockchain สามารถเพิ่มขีดความสามารถที่ซับซ้อนได้อีก เช่น เอกลักษณ์และชื่อเสียง มูลค่าที่เกิดการเคลื่อนไหว (การชำระ การส่งเงิน) มูลค่าที่ถูกจัดเก็บ (เงินออม) การกู้ยืม (เครดิต) มูลค่าที่เกิดการค้าขาย (ตลาดหลักทรัพย์) ประกันภัยและการบริหารความเสี่ยง และการตรวจสอบบัญชีและภาษี


นี่จะไม่ใช่จุดจบของการธนาคารที่เรารู้จักใช่ไหม? มันขึ้นอยู่กับว่า ผู้ให้บริการในตลาดเดิมจะมีปฏิกิริยาอย่างไร blockchain ไม่ใช่ความเสี่ยงสำหรับผู้ที่ยอมรับในเทคโนโลยีใหม่ๆ และแก้ไขจากภายในองค์กรก่อน ปัญหาก็คือ แล้วใครในอุตสาหกรรมการบริการทางการเงินล่ะ ที่จะนำร่องในการปฎิวัติครั้งนี้ ที่ผ่านมาในอดีต ผู้นำในวิธีแนวคิดดั้งเดิมมักจะมีปัญหาในการที่จะรับแนวคิดใหม่ๆ เช่น ทำไม AT&T ถึงไม่สร้าง Skype ล่ะ หรือทำไม Visa ถึงไม่สร้าง Paypal อย่าง CNN ก็สามารถสร้าง Twitter ได้ GM หรือ Hertz ก็สามารถที่จะเปิดตัว Uber Marriott ก็สามารถคิดค้น Airbnb ขึ้นมาได้ แรงที่ฉุดไม่อยู่ของเทคโนโลยี blockchain กำลังเข้ามายังโครงสร้างพื้นฐานของการเงินสมัยใหม่อย่างรวดเร็ว blockchain จะเป็นตัวกำหนดผู้ชนะและผู้แพ้ เหมือนกับการเปลี่ยนแปลงในแนวคิดที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วก่อนหน้านี้


Comentários


bottom of page