top of page

Fintech ไม่ใช่ปัญหาสำหรับธนาคาร - บริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่อย่าง Amazon และ Alibaba ต่างหากที่เป็น


Fintech ไม่ใช่ปัญหาสำหรับธนาคาร - บริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่อย่าง Amazon และ Alibaba ต่างหากที่เป็น


ธนาคารอาจให้ความสนใจกับการท้าทายอำนาจความผูกขาดทางตลาดจากบริษัท Fintech แต่ปัญหาที่แท้จริงอาจมาจากที่อื่น - การเติบโตของแพลตฟอร์มอย่าง Amazon และ Alibaba ที่กำลังเบนเป้าไปยังส่วนที่สร้างกำไรมากที่สุดใน Value Chain ของธนาคาร


เหล่าบริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่กำลังค่อยๆ ทำลายขอบเขตของอุตสาหกรรมต่างๆ เพื่อที่จะได้เป็นบริษัทที่เป็นทุกอย่างให้แก่ทุกคน


ตัวอย่างเช่นบริษัท Rakuten เจ้าของเว็บไซต์ค้าปลีกออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่น ก็ยังเป็นเจ้าของเว็บท่าด้านการท่องเที่ยวที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ รวมไปถึงแอพส่งข้อความ (ที่สามารถแนะนำสินค้าช้อปปิ้งจากการแชทล่าสุดของคุณ) ที่มีผู้ใช้กว่า 800 ล้านคน บริษัทยังออกบัตรเครดิต ให้บริการด้านสินเชื่อ และบริการด้านหลักทรัพย์ ส่วน Alibaba ของจีนก็เป็นอีกบริษัท e-commerce ขนาดใหญ่ ที่ขยายธุรกิจอย่างรวดเร็วในการเป็นบริษัทที่จัดการสินทรัพย์ ให้บริการกู้ยืม และให้บริการชำระเงิน


ในขณะเดียวกันทางฝั่งตะวันตก บริษัทเทคโนโลยีค่อยๆ ทยอยเข้าสู่ธุรกิจการเงิน อย่าง Amazon ที่ตอนนี้ให้บริการกู้เงินสำหรับบริษัทขนาดกลางและขนาดย่อม ทางด้าน Facebook เองก็กำลังนำบริการชำระเงิน Paypal ระหว่างบุคคล เข้าไปในแอพ messenger ส่วน Apple ก็กำลังจะทำให้ผู้ใช้ iMessage สามารถส่งเงินหากันได้


ส่วนฝั่งของบริษัทด้านการเงินดั้งเดิมเองเช่นธนาคารก็ต้องพึ่งพาบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่เหล่านี้เพื่อใช้งานเทคโนโลยี เช่น cloud computing ทำให้พวกเขามีจุดอ่อนหากต้องแข่งขันกันโดยตรง ในขณะเดียวกัน ชื่อเสียงเดิมของธนาคารอาจไม่สามารถทำให้พวกเขาดึงดูดผู้บริโภคยุคใหม่ได้ เพราะผลสำรวจชี้ว่า 73% ของคนอเมริกันยุค millenial ระบุว่า เขาตื่นเต้นกับบริการด้านการเงินของ Amazon Google Square หรือ Paypal มากกว่าธนาคารของพวกเขา ส่วนหนึ่งในสามระบุว่า พวกเขาไม่ต้องการธนาคารเลยด้วยซ้ำ


ความเสี่ยงที่น่ากังวลที่สุดของธนาคารคือ การตัดตัวกลางออก ซึ่งหมายความว่าบริษัทด้านการเงินจะถูกตัดออกจากลูกค้าของเขาจากการเกิดขึ้นของ Lending Club เป็นต้น บางทีสิ่งที่น่ากังวลกว่าอาจเป็นที่ธุรกิจต่างๆ ของธนาคารถูกแยกส่วน ยกตัวอย่างเช่น ธนาคารอาจจะกำลังเสียเงินในบัญชีเงินฝากที่ใช้เช็ค แต่ได้เงินคืนเมื่อลูกค้ากลับมาใช้บริการสินเชื่อจากธนาคาร กรณีนี้อาจจะทำให้เป็นเรื่องยากที่จะประคับประคองธุรกิจได้หากทุกอย่างถูกใช้ผ่านแพลตฟอร์มสื่อสารที่ธนาคารไม่ได้เป็นผู้ควบคุม เรื่องนี้นำไปสู่ความเสี่ยงอีกสองประการได้แก่ การถูกทำให้ต้องแข่งขันด้วยการลดส่วนกำไรเพราะว่าไม่มีสินค้า หรือบริการ ที่แตกต่าง จากนั้นจะสูญเสียการรับรู้ของแบรนด์ (brand awareness) และทำให้มีสภาพไร้ตัวตนในที่สุด เมื่อผู้บริโภคสามารถใช้บริการการเงินโดยไม่จำเป็นต้องรู้จักชื่อแบรนด์


ถ้าหากนึกถึงคนที่อายุต่ำกว่า 30 หรือคนยุค millenial ขณะที่คนเหล่านี้เติบโตพร้อมกับการอยู่หน้าจอ นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ทำให้เขามีมุมมองเกี่ยวกับกระบวนการต่างๆ เช่น การชำระเงิน ที่แตกต่างจากคนรุ่นก่อนๆ เช่น Venmo แอพชำระเงิน คนยุค millenial จะใส่ tag หรือใส่หน้า emoji ลงในทุกการชำระของพวกเขา แท้ที่จริงแล้วมันไม่ใช่บริการชำระเงินเพียงอย่างเดียว แต่เป็นประสบการณ์การชำระเงินที่มีการใส่ social network เข้าไปด้วย ซึ่งชาว millenial ชื่นชอบที่จะสัมผัส บางทีพวกเขาเปิดแอพเพียงเพื่อที่จะเห็นว่าเพื่อนของเขากำลังทำอะไรอยู่


แต่ทั้งหมดนี้ไม่ได้หมายความว่าธนาคารจะสิ้นหวังทั้งหมดแล้ว การแข่งขันที่สูงขึ้นอาจจะสร้างปัญหาในการทำกำไรของธนาคาร แต่อาจจะไม่สร้างความเสี่ยงในปัจจุบันให้กับอุตสาหกรรมนี้ หนึ่งในเหตุผลที่ทำให้บริษัทเทคโนโลยีรุกเข้าบริการด้านการเงินได้ช้าเป็นเพราะพวกเขาต้องผ่านกำแพงกฎข้อบังคับทางการเงินที่มีอยู่ ในขณะที่ธนาคารมีความสามารถด้านการบริหารความเสี่ยง และมีข้อมูลลูกค้าจำนวนมหาศาลที่จะสามารถพัฒนาการบริการให้ดีขึ้นได้


อีกสิ่งหนึ่งที่ธนาคารมีคือ การที่ผู้คนยังไว้ใจที่จะเก็บข้อมูลกับธนาคาร ซึ่งธนาคารได้เปรียบกว่าบริษัทเทคโนโลยีเนื่องจาก ความเชื่อใจและความปลอดภัย ถือเป็นสินทรัพย์ที่สำคัญ


จำนวนที่เพิ่มขึ้นของบริษัทเทคโนโลยีที่กระโดดเข้าสู่แวดวงการธนาคารกำลังทำให้ธนาคารต้องทบทวนวิธีในการสื่อสารกับลูกค้าของตัวเอง นวัตกรรมอินเทอร์เน็ตมือถือและสมาร์ทโฟนได้เปลี่ยนแปลงโลก ธนาคารเริ่มรับรู้ว่าทุกอย่างกำลังเปลี่ยนไป และพวกเขาจำเป็นต้องปรับตัวเพื่อที่จะอยู่รอด บางธนาคารอาจประสบความสำเร็จในการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ แต่หลายรายคงไม่ ธนาคารที่ฉลาดจะต้องดูว่าการบริการ Fintech ในปัจจุบันมีอะไรบ้าง และต้องนำมาประยุกต์ใช้เพื่อแก้ไขปัญหาที่มีอยู่ในขณะนี้ บางธนาคารจะไม่รอด มีเพียงธนาคารที่ยอมรับเทคโนโลยีเท่านั้นที่จะประสบความสำเร็จได้ในช่วงเวลาไม่กี่ปีข้างหน้า



Comments


bottom of page